ประวัติที่มาของ "ฐานันดรที่ 4"

โดย...อารยชน

กลุ่มบุคคลที่ทำหนังสือพิมพ์นั้น มักจะมีผู้กล่าวขวัญถึงอยู่บ่อย ๆ ว่าเป็นพวก "ฐานันดรที่ 4" ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า อาชีพหนังสือพิมพ์ เป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับอาชีพอื่น ๆ ที่เขามีมาแต่โบราณกาลในการนับ "ฐานันดรศักดิ์" ตามหลักการของชาวยุโรปซึ่งได้แบ่งการนับคนออกเป็น 3 ฐานันดรศักดิ์ หรือภาษอังกฤษเรียกว่า ESTATE

สำหรับ ฐานันดรศักดิ์ ทั้ง 3 ที่ชาวยุโรปแบ่งการนับไว้แต่เดิม คือ ฐานันดรที่ 1 "ขัตติยะ" หรือนักรบ ฐานันดรที่ 2 "สมณะ" ได้แก่บรรพชิตผู้ทรงศีล และ ฐานันดรที่ 3 บุคคลธรรมดา ได้แก่ผู้ที่กระทำการงานค้าขายหรือทำการเพาะปลูก ฯลฯ

ส่วนในรัฐสภาอังกฤษนั้นตามหลักแล้วจะประกอบด้วยฐานันดรศักดิ์ทั้งสาม คือ ฐานันดรที่ 1 ประกอบด้วยสภาขุนนางอันมี พวกขุนนางสืบตระกูล สำหรับ ฐานันดรที่ 2 ประกอบด้วยบรรพชิต พระราชาคณะ และ ฐานันดรที่ 3 ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคนธรรมดาได้เลือกตั้งให้เป็นผู้แทนตนเข้าไป

ต่อมาสาเหตุที่ทำให้เกิดมีคำว่า ฐานันดรที่ 4 อันหมายถึงผู้ประกอบอาชีพ หนังสือพิมพ์ มีที่มาดังนี้ คือ วันหนึ่งเมื่อร้อยปีที่เศษที่ผ่านมาได้มีการประชุมในรัฐสภาอังกฤษ ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งลุกขึ้นอภิปรายในรัฐสภาชื่อ นายเด็ดมันด์เบิร์ด ในการอภิปรายมีตอนหนึ่งที่ท่านผู้นี้ได้กล่าวขึ้นว่า...

"ในขณะที่เราทั้งหลายเป็น ฐานันดรใดฐานันดรหนึ่งทั้งสามกำลังประชุมกันอยู่นี้ เราพึงคำนึงไว้ด้วยว่าบัดนี้ได้มี ฐานันดรที่ 4 เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรนั้นกำลังมานั่งฟังการประชุมของเราอยู่ ณ ที่นี้ด้วย"

เมื่อ นายเอ็ดมันด์ เบิร์ด ได้พูดขึ้นดังนี้แล้วเขาก็ชี้มือไปยัง กลุ่มคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้พากันมานั่งฟังการประชุม ณ ที่ทางราชการได้จัดให้ไว้โดยเฉพาะ

นับตั้งแต่นั้นมา "กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ก็ได้ชื่อว่าพวก "ฐานันดรที่ 4" ตราบเท่าทุกวันนี้

กลับหน้า1