งานประเพณี สำคัญของจังหวัดนครพนม

งานนมัสการพระธาตุพนม กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 12 ถึง วันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณี ที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญยิ่งงานหนึ่งของชาวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งพี่น้องชาวลาวด้วย

งานประเพณีไหลเรือไฟ การไหลเรือไฟ (เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จ มาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ ได้เสด็จขึ้นไป จำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าก็ เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ โดยบันไดทิพย์ ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า "วันพระเจ้าโปรดโลก" พระองค์เสด็จมา ณ เมือง สังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า "อจลเจดีย์" ทวยเทพ ทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จ ด้วยเครื่องสัก การะบูชาอย่าง หนึ่ง ในวันนั้น และได้ทำ เป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟ ที่แตกต่าง กันก็คือว่า ทำให้ได้รับอานิสงส์เหมือนกัน เมื่อปล่อยเรือไฟลงกลางน้ำโขง หลังจุดไฟให้โชติช่วง เป็นภาพที่ งดงาม ไม่มีที่ไหนจะยิ่งใหญ่ ในประเทศไทยเหมือนที่จังหวัดนครพนม

เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ใผ่ต่อเป็นลำเรือยาว ประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนมข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ใต้สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อย เรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทำเรือไฟเป็นรูปแบบต่าง ๆ มีขนาดใหญ่โตขึ้น มีวิธีการประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตา มากยิ่งขึ้นการปล่อยเรือจะต้องจุดไฟให้ลุกโชติช่วงก่อนที่จะปล่อย ให้เรือไหลตามกระแสน้ำในลำน้ำโขง จะเป็นภาพที่งดงามติดตาติดใจผู้พบเห็น ไปตราบนานเท่านาน และจะพบว่าไม่มีที่ไหนๆ ในประเทศไทยจะมีการไหลเรือไฟที่ยิ่งใหญ่เหมือน ที่จังหวัดนครพนม

 

การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษา มีความ มุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี ความเสียสละและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขงบริเวณเขื่อนหน้าเมืองนครพนม มีระยะทางการแข่งขัน 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวเป็นการยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง

 

การฟ้อนภูไท นับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวภูไท ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ที่อำเภอเรณูนคร ซึ่งชาวเรณูนครยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ และการฟ้อนรำภูไท สำหรับการฟ้อนภูไทนี้ได้รับการถ่ายทอดกัน มาเป็นเวลาช้านานจากบรรพบุรุษของชาวเผ่าภูไท ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า "ฟ้อนรำละครไทย" เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนาน ในงานเทศกาล เดือนห้า และเดือนหก ซึ่งจะมีประเพณีบุญบ้องไฟและมีการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู ในการฟ้อนรำ สมัยก่อนนั้นเป็นการฟ้อนรำตามความถนัดและความสามารถ ความชำนาญของแต่ละบุคคลไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบ หรือความพร้อมเพียงกัน แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำของชายหญิงคู่กัน โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะที่ สวยงามละเอียดอ่อนหาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

การฟ้อนรำภูไทและการเลี้ยงอาหารแบบพาแลงนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
- ศูนย์วัฒนธรรม โรงเรียนเรณูวิทยานุกูล โทร. (042) 579021
- บ้านผู้ไท เลขที่ 117 หมู่ที่ 1 ตำบลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จ.นครพนม 48170โทร. (042) 579174
ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีของชนเผ่าแสกที่หมู่บ้านอาจสามารถ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม ประมาณ 4 กิโลเมตร ประเพณีแสกเต้นสากเป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่จะเต้นกันเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ การเต้นสากนอกเทศกาลจะต้องทำพิธีขอขมาก่อน ของที่ใช้ได้แก่ หัวหมู เงิน และเหล้า ซึ่งจะทำพิธีที่ศาลเจ้าประจำหมู่บ้าน โดยการเสี่ยงทายไม้สี ถ้าได้สีเดียวกันแสดงว่าเจ้าไม่อนุญาต การเต้น "แสดเต้นสาก" ใช้ไม้ยาวทาสีแดงสลับขาวเรียก "สาก" นำด้วยเสียงกลองจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะซอยเท้าถี่ ๆ ตามจังหวะการกระทบไม้คล้ายการเต้นลาวกระทบไม้แต่จะเร็วกว่ามาก

โส้ทั่งบั้ง เป็นประเพณีของพวกโซ่ ( โส้) การเต้นโส้ทั่งบั้งนี้เป็นการรำในงานศพ เพื่อที่จะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ การเต้นรำมีทั้งชายและหญิง พวกโซ่ (โส้) เป็นชนเผ่าข่า พวกหนึ่ง ลักษณะผิวคล้ำ มีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาที่ใช้เป็นภาษามอญปนเขมร หมู่บ้านชาวโส้นี้ ตั้งอยู่ที่บ้านโพนจาน ตำบลโพนจาม นอกจากจะอยู่ที่บ้านโพนจานแล้ว ยังตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาแก และอำเภอศรีสงคราม

ประเพณีแสกกลองบ้านกลาง

แห่เทียนพรรษา อ.ธาตุพนม